เมนู

ใช้อภัพพศัพท์ในที่นี้ ก็เพื่อแสดงว่าพระโสดาบันไม่ทำแม้ในภพอื่น. ความจริง
แม้ในภพอื่น พระโสดาบันถึงไม่รู้ว่าตนเป็นอริยสาวกโดยธรรมดานั่นเอง ก็ไม่
ทำบาป 6 อย่างนั้น หรือทำเวร 5 มีปาณาติบาตเป็นต้น หรือถึงฐานะ 6 พร้อม
กับการนับถือศาสดาอื่น ซึ่งอาจารย์บางพวกหมายถึงแล้วกล่าวว่า ฉ จาภิฐานานิ
ดังนี้ก็มี ก็พระอริยสาวกและเด็กชาวบ้านผู้จับปลาตายเป็นต้น เป็นตัวอย่างใน
ข้อนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของอริยสาวกแม้ยังถือภพ 7 อยู่
ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ โดยคุณที่แปลกจากบุคคลอื่น ๆ ที่ยังละการถือภพไม่ได้
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์
นั้น. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. พวก
อมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถามิแล.

พรรณนาคาถาว่า กิญฺจาปิ โส


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง โดย
ที่แปลกจากบุคคลอื่น ที่ยังละการถือภพไม่ได้ของพระโสดาบันแม้ยังถือภพ 7
ภพ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ. ไม่ใช่ไม่ควรทำ
อภิฐานะ 6 อย่างเดียวก็หาไม่ ทั้งยังไม่ควรทำบาปกรรมแม้เล็กน้อยอะไร ๆ แล้ว
ปกปิดบาปกรรมนั้นด้วย ดังนั้น จึงทรงเริ่มตรัสโดยคุณคือพระโสดาบันผู้ถึง
พร้อมด้วยทัสสนะ แม้อยู่ด้วยความประมาท ก็ไม่มีการปกปิดกรรมที่ทำมาแล้ว
ว่า กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ พระโสดาบันนั้น แม้ทำบาปกรรม
ก็จริง.